คุณรู้จัก IYF แค่ไหน?

ข้อมูลในเอกสารที่ลิงค์ข้างล่างนี้เกี่ยวกับกลุ่ม IYF ที่เสนอกิจกรรมของกลุ่มให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัย แหล่งที่มาของข้อมูลคือ http://www.truth-that-matters.com/iyf.htm (ลิงค์เสีย แต่ยังอ่านได้จาก PDF นี่)

ภาพโลโกไม่สงวนลิขสิทธิ อ่านเพิ่มเติ่มที่ https://commons.wikimedia.org/wiki/File:International_Youth_Fellowship_logo.gif

 

แหล่งภาพโลโก IYF คลิกที่นี้

แหล่งภาพอ๊อกซูพาร์คคลิกที่นี้

 

ความเชื่อในผีสางวิญญาณและการอธิษฐานรับเชื่อ (Animism and the Sinner's Prayer)

ทุก ๆ ปี ผู้เชื่อคริสเตียนและมิชชันนารีในเมืองไทยได้นำคนอธิษฐานรับเชื่อเพื่อที่จะช่วยพวกเขาให้มาเป็นคริสเตียน แต่ผู้เชื่อใหม่เหล่านี้บางคนไม่เคยมาคริสตจักรเลย หรือบางคนมาคริสตจักรในช่วงแรก ๆ จากนั้นก็หายไป ก่อนรับบัพติศมา มีหลายคนบัพติศไป และไม่กลับมาเลย อะไรเป็นสาเหตุของสิ่งเหล่านี้?

เมื่อ 200 ปีที่แล้ว วิธีการเรียกคนออกมาหน้าที่ประชุมเพื่อประกาศความเชื่อใหม่ในพระคริสต์ถูกคิดค้นขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา นับแต่นั้นมา คนจำนวนมากในหลายประเทศทั่วโลกได้อธิษฐานรับเชื่อพระเยซูคริสต์ แต่กลับไม่สำแดงผลแห่งพระวิญญาณในการดำเนินชีวิต เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น? แน่นอนว่ามีหลากหลายสาเหตุ แต่ในประเทศนั้นสาเหตุสำคัญประการหนี่งก็คือ ภูมิหลังของคนที่อธิษฐานรับเชื่อ พวกเขามีโลกทัศน์ที่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อในผีสางวิญญาณ (Animism) และจึงแปลความหมายของการรับเชื่อโดยใช้โลกทัศน์ดังกล่าวนั้น

ในขณะที่การอธิษฐานรับเชื่อถูกคิดค้นขึ้นเพื่อช่วยนำคนมาเป็นคริสเตียน แต่ในประเทศไทย (เช่นเดียวกับหลาย ๆ ประเทศ) การอธิษฐานรับเชื่อกลับมีผลในทางตรงข้ามที่ไปยืนยันโลกทัศน์ที่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อในผีสางวิญญาณ กล่าวถึงที่สุด ความเชื่อในผีสางวิญญาณคือการใช้พิธีกรรมและพิธีทางศาสนาเป็นฉากหน้าในการโน้มน้าวควบคุมให้โลกฝ่ายวิญญาณทำตามสิ่งที่ผู้เชื่อในผีสางวิญญาณประสงค์ให้กระทำ ไม่ว่าจะเป็นการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายหรือการรับพรอันประเสริฐ พุทธศาสนาแบบไทย ๆ มีส่วนผสมของพุทธศาสนาแท้ ๆ และความเชื่อในผีสางวิญญาณ ทั้งในเรื่องดวงวิญญาณ โชคลาง พระธาตุ/อัฐิ วัตถุมงคล การดูดวง โหราศาสตร์ เวทมนตร์คาถา เป็นต้น การผสมผสานกันระหว่างความเชื่อในผีสางวิญญาณและพุทธศาสนาดังกล่าวนี้เป็นส่วนสำคัญของโลกทัศน์และระบบความเชื่อของคนไทยส่วนใหญ่ และความเข้าใจเกี่ยวกับโลกฝ่ายวิญญาณในแบบนี้เองที่คนไทยนำติดตัวมาด้วยเมื่อพวกเขาเข้าร่วมการชุมนุมคริสเตียนหรือได้ยินการประกาศข่าวประเสริฐ

เหตุที่มิชชันนารีไม่อาจกลับบ้านได้อีก (Why Missionaries Can Never Go Home Again)

เขียนโดย Karl Dahlfred

แปล & เรียบเรียงโดย วัลลภาอรุโรทยานนท์

 

เมื่อมิชชันนารีใหม่ออกจากบ้านเดินทางไปทำพันธกิจของพระเจ้าครั้งแรกในต่างแดนคุณก็ยังรู้ชัดเจนว่าบ้านของตนนั้นอยู่ที่ไหนนั่นก็คือบ้านที่คุณเพิ่งจากมา เป็นบ้านที่คุณได้เติบโตขึ้นเป็นที่ ที่คุณได้รับการศึกษาและได้สร้างสัมพันธภาพแน่นแฟ้นกับพี่น้องในคริสตจักร

หากแต่เมื่อคุณไปอยู่ต่างแดนนานพอควรแล้วความรู้สึกแปลกแยกก็เกิดขึ้น

คุณจะเริ่มรู้สึกว่าบ้านของคุณนั้นไม่เหมือน “บ้าน” ที่เคยรู้จักอีกต่อไป  เมื่อ “กลับบ้าน” แล้ว แม้จะพบผู้คนและได้เห็นสถานที่ที่คุ้นเคยมาก่อน แต่ทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไประหว่างที่คุณไม่อยู่  ดังนั้นในช่วง “พักงานกลับบ้าน” คุณจึงไม่สามารถประติดประต่อช่วงเวลาให้เข้าสนิทกับช่วงเดิมที่คุณจากไปได้ เพราะเวลานี้ คุณได้กลายเป็นคนนอกเป็นเพียงแขกผู้มาเยือนเท่านั้น และคุณก็ไม่มีบทบาทหน้าที่อะไรชัดเจนด้วยบรรดาเพื่อนสนิททั้งหลายของคุณต่างก็ได้ผูกมิตรกับเพื่อนใหม่ๆพี่น้องมากกว่าครึ่งในคริสตจักรรู้จักคุณเพียงผ่านทางระบบการสื่อสารที่รับรู้ได้ว่าคุณต้องการให้อธิษฐานเผื่อเรื่องอะไรบ้างเท่านั้น ขณะที่คนอื่นๆคุ้นเคยกับเทคโนโลยีใหม่ๆแต่คุณต้องคลำหาทางทำความเข้าใจคนอื่นพูดคุยกันสนุกสนานด้วยศัพท์แสลงแต่คุณกลับรู้สึกแปลกหูและไม่แน่ใจในความหมาย  แล้วคุณอาจสงสัยว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมกำลังวิ่งไปทางไหนกัน?  ผู้คนที่บ้านเคยชินกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจนกลายเป็นเรื่องปกติแต่คุณกลับมึนงงสับสน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าคุณได้เดินสวนทางกับสิ่งเหล่านี้ไป ตั้งแต่การออกเดินทางครั้งแรกแล้ว

วีดีโอ ศจ. ดร. นที ตันจันทร์พงศ์ สอน คำสอนเพื่อชีวิต

ข้างล่างนี้พบกับ วีดีโอ ศจ. ดร. นที ตันจันทร์พงศ์ สอน คำสอนเพื่อชีวิต  

ดูวีดีโอคำสอนเพื่อขีวิตทั้งหมด ช่วยคลิกที่ YouTube ของคริสตจักร Grace City Bangkok 

 

"คำสอนเพื่อชีวิต" เป็นการสอนหลักความเชื่อคริสเตียนโดยวิธีถามตอบ ซึ่งสามารถเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสอนและอธิบายความเชื่อที่ถูกต้องอย่าง กระชับและชัดเจน และเป็นช่องทางในการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

คำสอนเพื่อชีวิตตั้งอยู่บนพื้นฐานของพระวจนะ โดยมีการอ้างอิงพระคัมภีร์อย่างชัดเจน นอกจากนี้ คำสอนเพื่อชีวิตยังเป็นกรอบและตัวอย่างที่ช่วยให้ผู้อ่านตีความพระคัมภีร์ อย่างถูกต้องมากขึ้น สุดท้าย คำสอนเพื่อชีวิตอธิบายพระกิตติคุณ ต่อต้านคำสอนผิดเพี้ยน และปลูกฝังชีวิตของเราตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์

ราคาเล่มละ 50 บาท

สนใจสอบถามรายละเอียดหรือ สามารถสั่งซื้อได้ที่
Line id : kanokbannasan
Emai : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
หรือทางหมายเลข 0 2417 2511-3 และ 086 881 6166

การรับใช้ไม่ใช่การวิ่งแข่งระยะสั้น

บทความนี้ถูกแปลจาก Your Ministry Is Not a Sprint เขียนโดย Stephen Miller แปลโดย Wit Prasompluem


ตอนที่ผมเริ่มงานรับใช้ในวัยหนุ่ม ผมมีใจที่ร้อนรนเต็มที่ มองหาโอกาสในการเติบโตและรับใช้อยู่เสมอ ศิษยาภิบาล (ศบ.) ท่านหนึ่งเข้ามาหาผมโดยขอให้นำการนมัสการทุกวันอาทิตย์ เขาไม่มีค่าตอบแทนหรือแม้กระทั่งนักดนตรี แต่ผมก็มองว่าเป็นโอกาสสำหรับผมในการเรียนรู้การวางแผน ระดมนักดนตรี และนำคริสตจักรในทุกสัปดาห์

แต่ผมก็ไม่ต้องการหยุดอยู่แค่นั้น ผมอยากเป็นผู้รับใช้เต็มเวลา ผมอยากได้สิทธิอำนาจและการยอมรับ และผมเริ่มที่จะเชื่อว่าผมควรจะได้รับตำแหน่ง ค่าตอบแทน และพื้นที่บนเวที ในตอนนั้น ศบ.อาวุโสท่านหนึ่งกล่าวกับผมว่า “ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม คุณจะต้องเติบโตให้มากกว่านี้ก่อน”

เมื่อได้ยินเช่นนั้น ผมเจ็บปวดมากจริงๆ แต่เมื่อผมมองย้อนกลับไป ศบ.ท่านนั้นพูดถูกเผ๋งเลย แต่ในตอนนั้นผมหูตามืดบอด ทำให้ผมยังคงดิ้นรนอีกพักใหญ่ในการพยายามพิสูจน์ว่าผมดีพอ ผมวิ่งเต็มสปีดเพื่อให้ได้มาซึ่งคำชมและการยอมรับที่มาพร้อมกับบทเรียนมากมาย ผมเอาหูทวนลมต่อคำแนะนำจากผู้อื่นและพลาดโอกาสที่จะดื่มด่ำความงดงามของเส้นทางแห่งการรับใช้

จากเส้นทางดังกล่าว ผมได้เรียนรู้บทเรียน 5 ประการที่สอนผมว่า การรับใช้คือการวิ่งแข่งมาราธอน และไม่ใช่การวิ่งแข่งระยะสั้น

ข้อเสนอของกรรมการการศาสนศาสตร์ของ กปท เรื่อง G12 ในประเทศไทย

บทความข้างล่างนี้ถูกเขียนโดย คณะกรรมการศาสนศาสตร์ของกปท.

 

ศึกษาโดยคณะกรรมการศาสนศาสตร์ของ กปท

เหตุผลที่ทำการศึกษาเรื่องนี้

  • เนื่องจากมีการร้องเรียนว่าคำสอนของ G12 ไม่สอดคล้องกับพระคัมภีร์

แนวทางการศึกษา

  • สัมภาษณ์ผู้นำหลักท่านหนึ่งของ G12 ในประเทศไทย
  • ศึกษาเอกสารที่ได้รับจากผู้นำหลักของ G12 ท่านนั้น ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ได้แปลมาและใช้สอน ซึ่งประกอบไปด้วย Post Encounter, Sol (School of Leadership)  1, 2, 3  
  • ศึกษาเอกสารของเซซาร์ คาสเตยาโนส ดี.โดยตรง
  • บทวิเคราะห์จากบุคคลอื่นในเรื่องนี้

ประเด็นห่วงใย

หลังจากที่กรรมการได้ทำการศึกษาเนื้อหาโดยรวมแล้ว มีประเด็นบางประการเกี่ยวกับคำสอนของ G12 ที่มีผลต่อความเชื่อของคริสเตียนดังต่อไปนี้

ประเด็นที่ 1 คือที่มาของ G12

คำว่า G  แปลว่าการปกครองซึ่ง ลักษณะการปกครองแบบนี้เป็นการปกครองแบบปิรามิด ซึ่งไม่สอดคล้องกับการปกครองคริสตจักรจำนวนมากในโลกนี้เช่น แบ๊บติสต์ เพรสไบทีเรียน และคริสตจักรอิสระ

จากที่กรรมการได้สัมภาษณ์ผู้นำหลักของ G12 ท่านนั้น เพื่อขอความคิดเห็นว่า เลข 12 นี้มีความสำคัญหรือไม่อย่างไร ก็ได้รับคำตอบว่า ไม่มีความสำคัญอะไร แต่ในคู่มือการสอน G12 นั้นได้ให้ความสำคัญกับเลข 12 ดังตัวอย่างในหน้า 114 ของ Sol 2 ผู้เขียนได้อ้าง 1 พกษ. 18:31ว่า  “เอลียาห์นำศิลาสิบสองก้อนมาตามจำนวนเผ่าของบุตรชายของยาโคบ ผู้ซึ่งพระวจนะของพระเจ้ามาถึงว่า อิสราเอลจะเป็นชื่อของเจ้า’– การปกครองในระบบ 12: ศิลา 12 ก้อนเป็นตัวแทนของผู้นำ 12 คนในพระราชกิจของพระเจ้า ซึ่งจะเป็นผู้แบกรับน้ำหนักของงานรับใช้ไว้ (ดูหน้า122ประกอบ)

Donation Address

OMF International
10 W. Dry Creek Circle
Littleton, CO 80120

With your check, please include a note indicating support for "Karl & Sun Dahlfred"
You may also give online.